EYE LEVEL MATH OLYMPIAD

EXPERIENCE EYE LEVEL MATH OLYMPIAD!

Eye Level Math Olympiad เป็นการแข่งขันคณิตศาสตร์ประจำปีที่เริ่มในปี 2004 โดยมีนักเรียนมากกว่า 48,000 คนจาก 15 ประเทศเข้าร่วม การทดสอบที่เป็นมาตรฐานสากลในระดับนานาชาติ แบบทดสอบจะวัดทักษะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนทั้งในด้านความรู้ ทฤษฎี และความชำนาญ เมื่อผ่านการทดสอบแล้วนักเรียนจะรู้ถึงจุดที่ยังไม่เชี่ยวชาญและสามารถนำไปวางแผนการเรียนต่อของตนเองในอนาคตได้ ได้รับการออกแบบมาเพื่อท้าทายทักษะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนในด้านต่างๆ เช่น ตัวเลขและการดำเนินการ พีชคณิต เรขาคณิต การวัด การวิเคราะห์ข้อมูล การให้เหตุผล และการแก้ปัญหา

การแข่งขันนี้มีผู้เข้าร่วมในหลายๆประเทศจากภูมิภาคเอเชีย ยุโรป โอเชียเนีย และอเมริกา การเข้าร่วมการแข่งขันจะช่วยยกระดับให้นักเรียนมีความมั่นใจและมีความพร้อมในการไปสู่อนาคตในระดับนานาชาติ

ใครที่สามารถเข้าร่วมการแข่งขันได้บ้าง ?

นักเรียนอายเลเวลที่อยู่ในระดับชั้น ป.2 – ม.3 สามารถเข้าร่วมการแข่งขันได้

รายละเอียด

– ข้อสอบเป็นภาษาอังกฤษ เท่านั้น คำสั่งในการทำแบบทดสอบจะไม่มีการแปลให้
– เพื่อความปลอดภัยสำหรับนักเรียน การสอบในปี 2022 จะถูกจัดในรูปแบบ online โดยผู้เข้าร่วมจะต้องใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์, แล็ปท็อป หรือแท็ปเล็ต ที่มีกล้องในการเข้าร่วม

(นักเรียนจะต้องทำแบบทดสอบด้วยตนเองเท่านั้น หากมีการช่วยเหลือจากบุคคลใด หรือมีการเปิดเว็ปไซต์อื่นๆระหว่างการทดสอบจะถือว่าเป็นการทุจริต โดย The Eye Level Math Olympiad จะมีระบบการตรวจสอบทาง Online)

กำหนดการ

วิธีการสมัคร: สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ – 13 พ.ย. 65 ติดต่อขอรับและส่งใบสมัครได้ที่สาขาที่นักเรียนอยู่ปัจจุบัน หรือติดต่อสาขาเพื่อสอบถามวิธีการ *ไม่มีค่าใช้จ่ายในการสมัคร

วันสอบแข่งขัน: 19 พฤศจิกายน 2565 เวลา 10.00 – 11.00 น. (สอบระบบออนไลน์)

ประกาศผลสอบ: จะประกาศให้ทราบภายหลัง

รางวัลการแข่งขัน

ผู้ชนะการแข่งขัน3 อันดับแรก โดยจะถูกคัดเลือกจากคะแนนสูงสุดในแต่ละระดับชั้น จะได้รับการติดต่อจากทีมงานในการแจ้งข้อมูลในการรับรางวัลในภายหลัง *รางวัลที่ได้รับอาจแตกต่างกันในแต่ละประเทศ

รูปแบบการสอบ

ผู้เข้าร่วมการสอบจะต้องแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ในด้านต่างๆ เช่น สมการ, ปริภูมิ, การวัด, การแก้ปัญหาเชิงกลยุทธ์, การให้เหตุผล (และอื่นๆ) เป็นต้น (โดยในบางทักษะจะมีเฉพาะในบางระดับของการแข่งขันเท่านั้น)

– ส่วนที่ 1: ทดสอบพื้นฐานและทักษะความรู้ทั่วไปทางคณิตศาสตร์

– ส่วนที่ 2: ทดสอบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา

– ส่วนที่ 3: ทดสอบความชำนาญในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ด้านต่างๆ

รูปแบบการทดสอบ

โจทย์ปัญหา 50 ข้อ ในเวลา 50 นาที

ระดับประถม

– ส่วนที่ 1: 30 คำถามแบบมีตัวเลือกคำตอบ ข้อละ 1.5 คะแนน (45%)

– ส่วนที่ 2: 10 คำถามแบบตอบสั้นๆ ข้อละ 2 คะแนน (20%)

– ส่วนที่ 3: 10 คำถามในรูปแบบผสมกัน คะแนนขึ้นอยู่กับความยากของแต่ละคำถาม (35%)

ระดับมัธยม

– ส่วนที่ 1: 30 คำถามแบบตอบสั้นๆ ข้อละ 1.5 คะแนน (45%)

– ส่วนที่ 2: 10 คำถามแบบตอบสั้นๆ ข้อละ 2 คะแนน (20%)

– ส่วนที่ 3: 10 คำถามในรูปแบบผสมกัน คะแนนขึ้นอยู่กับความยากของแต่ละคำถาม (35%)